วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของการเรียนรู้

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (2548 : 29) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้มีความสำคัญในการดำรงชีวิตในปัจจุบัน ทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสภาพของสังคม การเรียนรู้ไม่เพียงแต่การจัดกิจกรรมในโรงเรียนหรือสถานศึกษา แต่การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกสภาพและทุกขณะ ตั้งแต่มนุษย์ลืมตาดูโลก เราก็เริ่มเรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว                                                                                                                     
            เดโช สวนานนท์ (2510 : 159) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้เป็นหัวใจของการดำรงชีวิต ทุกคนเกิดมาต้องเรียน จะต้องเรียนจากสิ่งแวดล้อมด้วยตนเองบ้าง จากบิดามารดาบ้าง ญาติพี่น้องบ้าง และจากโรงเรียนบ้าง พฤติกรรมเกือบทั้งหมดของมนุษย์ ล้วนแต่เป็นพฤติกรรมที่มนุษย์เสาะหามาโดยการเรียนรู้ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง
            http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache: cFjlmZnWI5MJ: www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt+&cd=3&hl=en&ct=clnk&gl=th. ได้อ้างถึงนักวิชาการชื่อ Richard   R.  Bootsin กล่าวว่าความสำคัญของการเรียนรู้ เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต มนุษย์มีการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงก่อนตาย ไม่มีใครแก่เกินที่จะเรียน  และการเรียนรู้จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

สรุป
            การเรียนรู้มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของทุกคน การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกสภาพ ทุกขณะ ตั้งแต่ลืมตาดูโลก เราก็เรียนรู้จากบิดา มารดา ญาติพี่น้อง โรงเรียนและเรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นการเรียนรู้จึงช่วยให้การพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น

ที่มา
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
เดโช สวนานนท์. (2510). จิตวิทยาสำหรับครู. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

            http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:cFjlmZnWI5MJ: www.crc.ac.th/online/75107/psychology2.ppt+&cd=3&hl=en&ct=clnk&gl=th. ความสำคัญของการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 23 มิถุนายน 2558.

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ความหมายของการเรียนรู้

http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html.  ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ คือกระบวนการเพิ่มพูนและปรุงแต่งระบบความรู้ ทักษะ นิสัย หรือการแสดงออกต่างๆ อันมีผลมาจากสิ่งกระตุ้นอินทรีย์โดยผ่านประสบการณ์ การปฏิบัติ หรือการฝึกฝน
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89.  ได้รวบรวมความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่
ประดินันท์ อุปรมัย (2540 : 121)  ได้กล่าวถึงความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับประสบการณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นเหตุทำให้บุคคลเผชิญสถานการณ์เดิมแตกต่างไปจากเดิม ประสบการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหมายถึงทั้งประสบการณ์ทางตรงและประสบการณ์ทางอ้อม
            สรุปได้ว่า การเรียนรู้ คือกระบวนการเพิ่มพูนความรู้ หรือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด จากการได้ยิน การสัมผัส การอ่าน การปฏิบัติ การฝึกฝนหรือการใช้เทคโนโลยี โดยจะได้รับประสบการณ์ทางตรงและทางอ้อมทำให้เกิดการเรียนรู้

 ที่มา
                http://www.baanjomyut.com/library_2/psychology_of_learning/01.html. การเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 16 มิถุนายน 2558.
E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%  E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89. การเรียนรู้.   เข้าถึงเมื่อ 16  มิถุนายน 2558.

             ประดินันท์ อุปรมัย. (2540).  ชุดวิชาพื้นฐานการศึกษา(มนุษย์กับการเรียนรู้). (พิมพ์ครั้งที่ 15). นนทบุรี : ม.ป.ท.