วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (แบบบรรยาย)

B8%98%E0%ได้รวบรวมรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายไว้ว่า การบรรยาย คือ
กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดโดยการเตรียมเนื้อหาสาระแล้วบรรยาย คือ พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน ให้ผู้เรียนซักถามแล้วประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง  
             การบรรยายเป็นวิธีถ่ายทอดความรู้ที่ใช้กันมานานในการเรียนการสอนในระดับอุดม ศึกษาเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวก สามารถสอนหรือบรรยายให้ผู้ฟังได้ทีละมากๆ โดยทั่วไปจะใช้ในกรณีที่ต้องการนำเสนอความรู้ครั้งละมากๆ โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงจัดเป็นวิธีสอนที่ประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้ เป็นอย่างดี วิธีนี้จะเหมาะสมมากหากผู้บรรยายมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ มีความรู้ในเนื้อหานั้นเป็นพิเศษ และต้องการให้ผู้ฟังได้คำอธิบายขยายความ หรือแนวคิดที่แปลกใหม่เป็นข้อมูลที่หาอ่านจากเอกสารทั่วไปไม่ได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนเนื้อหาสาระความรู้ที่มีจำนวนมากในเวลาที่จำกัด
2. เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาด้วยตนเอง
4. เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ
องค์ประกอบของการสอน
1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย)
3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย
 ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียมการสอน ประกอบด้วย
    1.1 วินิจฉัยผู้เรียน โดยพิจารณาถึงพื้นฐานความรู้ ประสบการณ์เดิม ความสามารถของผู้เรียน อาจใช้วิธีพูดคุย ซักถาม หรือแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการเตรียมเนื้อหาและวิธีการสอน    1.2 เตรียมเนื้อหา โดยพิจารณาถึงความละเอียด ลึกซึ้ง มากน้อย และตามลำดับของเนื้อหา ให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
    1.3 เตรียมคำถาม เพื่อใช้ถามผู้เรียนระหว่างการบรรยาย จะช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัวและสนใจได้ดีขึ้น
    1.4 เตรียมสื่อการเรียนการสอน โดยเตรียมสื่อให้พร้อมอยู่ในสภาพใช้การได้ดี อาจเป็น สไลด์ แผ่นใส ภาพ ฯลฯจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น
    1.5 ขั้นเตรียมการวัดและประเมินผล อาจจัดทำเป็นการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดดูว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ หรือมากน้อยเพียงไร
2.ขั้นสอน ประกอบด้วย
    2.1 ขั้นนำ อาจใช้วิธี
         1) ซักถามพูดคุยกับผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
         2) ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่
    2.2 ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ผู้สอนควรได้ดำเนินการ ดังนี้
         1) บอกโครงเรื่อง เครือข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
         2) อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
         3) สังเกตปฏิกิริยาตลอดเวลาเพื่อการย้ำหรือหยุดทบทวนใหม่
         4) ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
         5) ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งในบทเรียน
         6) ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา อารมณ์ขันที่เหมาะสม
   2.3 ขั้นสรุป เป็นการปิดท้ายชั่วโมงการบรรยาย อาจใช้วิธี
         1) สรุปโยงเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
         2) ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
         3) ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปคิดต่อ
         4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดซักถามปัญหา
         5) มอบหมายงายให้ผู้เรียนไปค้นคว้าต่อเพิ่มเติม
         6) บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป
3. ขั้นติดตามผล ประกอบด้วย
    3.1 วัดและประเมินผลผู้เรียน โดยอาจใช้วิธี
          1) ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดบรรยาย
          2) ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
          3) ให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
     3.2 วัดผลประเมินผลผู้สอน โดยอาจใช้วิธี
          1) จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้ทราบความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง
          2) ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการณ์สอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสอน
          3) บันทึกการบันยายของตนแล้วนำไปพิจารณา ประเมิน
ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
    1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก
    2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย
    3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ
    4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น
    5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
    6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง
    7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
    8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง


ข้อเสียของการสอนแบบบรรยาย
    1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมใน    กิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
    2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง
    3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย
    4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
    5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร
    6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
    7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป
    8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก
    9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
   10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ
   11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ
   12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย
   13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
   14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล

           https://beebeecom.wordpress.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%.
ได้รวบรวมรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายไว้ดังนี้
ความหมายของการบรรยาย
     คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า  อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังการบรรยายหรืออาจมีโอกาส  ซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะกับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายมีความชำนาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคมชัดลึก โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือความรู้จำนวนมาก  ในลักษณะ คม ชัด ลึก พร้อมๆกันในเวลาที่จำกัด
2.เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน  ซึ่งเป็นความรู้ที่ค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
องค์ประกอบ
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1.เนื้อหาสาระหรือข้อความที่ต้องการให้เรียนรู้
2.การบรรยาย
3.ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
1.ขั้นเตรียมการ
กำหนดจุดประสงค์
  • ศึกษาภูมิหลังผู้เรียน
  • เตรียมเนื้อหาสาระ
  • กำหนดเค้าโครง  จัดลำดับเนื้อหา
  • เตรียมเทคนิคการสอน
  • เตรียมสื่อประกอบการบรรยาย
  • เตรียมการประเมินผล
2.ขั้นบรรยาย
  • ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนการเรียน
  • ขั้นอธิบาย เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  • ขั้นสรุป
3.ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทดสอบหลังบรรยาย ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
ข้อดี
1.เป็นวิธีการที่ให้ความรู้เนื้อหาสาระแก่ผู้เรียนได้มาก แต่ใช้เวลาน้อย
2.เป็นวิธีการที่สะดวกที่ใช้กับผู้เรียนจำนวนมาก
3.เป็นวิธีที่สะดวก ผู้สอนดำเนินการคนเดียว
ข้อจำกัด
1.เป็นวิธีที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เพราะต้องรับรู้เรื่องเดียวกัน
2.เป็นวิธีการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้น้อยมาก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย

                

           สุวิทย์  มูลคำ และอรทัย  มูลคำ (2551 : 17-21ได้กล่าวถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายไว้ดังนี้
ความหมายการจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย
            การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังบรรยายหรืออาจมีโอกาส ซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ฟังจำนวนมาก และผู้บรรยายซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ต้องการนำเสนอเนื้อหาสาระจำนวนมากในลักษณะคม ชัด ลึก โดยใช้เวลาไม่มากนักจึงเป็นการเรียนรู้ที่ประหยัดเวลาและค่าใช่จ่าย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือความรู้จำนวนมาก ในลักษณะคม ชัด  ลึก พร้อมๆกันในเวลาที่จำกัด
2. เพื่อให้ความรู้หรือประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียน ซึ่งเป็นความรู้ที่ค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้สอนได้มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษามาล่วงหน้าแล้ว

องค์ประกอบสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ ผู้สอนควรเตรียมการดังนี้
    1.1 กำหนดจุดประสงค์ของการบรรยายแต่ละครั้งให้ชัดเจน
    1.2 ศึกษาภูมิหลังผู้เรียนเกี่ยวกับพื้นความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ ความต้องการและความสนใจของผู้เรียนเพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการเรียนรู้
    1.3 เตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย โดยศึกษาค้นคว้าจากตำรา วารสารและความรู้ต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ ของผู้สอนผสมผสานกัน
    1.4 กำหนดเค้าโครง จัดลำดับขั้นตอนของเนื้อหาให้เหมาะสมกับเวลาและลักษณะของผู้เรียน
    1.5 เตรียมเทคนิคการนำเสนอ เพื่อให้การบรรยายมีรสชาติ เช่น การยกอุทาหรณ์เปรียบเทียบ การอุปมาอุปมัย การใช้ข้อมูลสถิติ การใช้คำถามกระตุ้น เป็นต้น
    1.6 เตรียมสื่อต่างๆ ที่จะใช้ประกอบการบรรยาย เช่น รูปถ่าย แผนที่ หุ่นจำลอง วีดิทัศน์ สไลด์ แผ่นใส หรือการนำเสนอผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งสื่อต่างๆจะต้องอยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
    1.7 เตรียมวิธีการประเมินผลที่จะใช้ เช่น การสังเกต หรือการทดสอบก่อนและหลังบรรยาย เป็นต้น
2. ขั้นบรรยาย ประกอบด้วย
    2.1 ขั้นนำ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนเรียน อาจใช้วิธี
                - ซักถามพุดคุยกับผู้เรียน
                - ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องใหม่
                - ใช้ปัญหาเป็นสิ่งเร้าความสนใจ เช่น ข่าว เหตุการณ์สำคัญ กรณีตัวอย่าง การตั้งคำถามนำ เป็นต้น
                - ทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจก่อนเรียน
    2.2 ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ผู้สอนควรดำเนินการดังนี้
                - บอกโครงเรื่อง ขอบข่ายของเนื้อหาและแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียนให้ผู้เรียนทราบก่อน
                - อธิบายเนื้อหาสาระตามลำดับให้ชัดเจน
                - ใช้สายตามองผู้เรียนให้ทั่วถึงขณะบรรยาย เป็นการให้ความสำคัญกับผู้เรียนและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการสังเกตเพื่อประเมินพฤติกรรมผู้เรียน และบรรยากาศการเรียนรู้
                - ใช้สื่อต่างๆ ที่เตรียมไว้ประกอบการบรรยายสอดคล้องกับเนื้อหา ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
                - ควรยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาที่เข้าใจยากเพื่อความกระจ่างชัด และป้องกันความสับสน
                - ควรใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่ม การระดมสมอง การแสดงความคิดเห็นผ่านวิธีการต่างๆ การอภิปรายกลุ่มย่อย
                 - ควรใช้คำถามระหว่างการบรรยาย ซึ่งอาจทำได้ในสองลักษณะ
    2.3 ขั้นสรุป ควรดำเนินการดังนี้
                - ผู้สอนควรสรุปสาระสำคัญของการบรรยาย
                - ควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามหรือเปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
3. ขั้นประเมินผลการเรียนรู้
           ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันประเมินผลการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ทดสอบหลังการบรรยาย ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
ข้อดีและข้อจำกัด
            การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายมีข้อดีและข้อจำกัดดังนี้
ข้อดี
1. เป็นวิธีการที่ให้ความรู้เนื้อหาสาระแก่ผู้เรียนได้มาก แต่ใช้เวลาน้อยเมื่อเทียบกับวิธีอื่น
2. เป็นวิธีการที่ใช้กับนักเรียนจำนวนมากได้
3. เป็นวิธีการที่สะดวก ผู้สอนดำเนินการคนเดียว ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก สามารถรับรู้เรื่องที่เรียนตรงกัน
4. เหมาะสำหรับเนื้อหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ผู้เรียนฟังการบรรยายแล้วเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าและอาจไม่เข้าใจ
ข้อจำกัด
1. เป็นวิธีการที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ เพราะต้องรับรู้เรื่องเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกัน
2. เป็นวิธีการที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้น้อยมาก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ขาดความสนใจในการเรียนรู้
3. เป็นวิธีการที่ต้องอาศัยความสามารถ ทักษะ เทคนิคของผู้บรรยาย ถ้าผู้บรรยายไม่มีศิลปะหรือการสื่อสารที่ดีในการดึงดูดใจผู้เรียน ผู้เรียนอาจขาดความสนใจ ทำให้ขาดการรับรู้ที่ดีและไม่เข้าใจเนื้อหาสาระสำคัญได้

สรุป
การบรรยาย คือ กระบวนการเรียนรู้ที่ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการพูดบอกเล่า  อธิบายเนื้อหาเรื่องราวที่ผู้สอนได้เตรียมการศึกษาค้นคว้ามาเป็นอย่างดี ผู้เรียนเป็นฝ่ายรับฟัง อาจจะมีการจดบันทึกสาระสำคัญในขณะที่ฟังการบรรยายหรืออาจมีโอกาส  ซักถามแสดงความคิดเห็นได้บ้างถ้าผู้สอนเปิดโอกาส วิธีนี้เหมาะกับผู้ฟังจำนวนมาก
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เรียนที่มีจำนวนมากได้เรียนรู้เนื้อหาสาระหรือความรู้จำนวนมาก  ในลักษณะ คม ชัด ลึก พร้อมๆกันในเวลาที่จำกัด
2. เพื่อให้ความรู้ประสบการณ์ใหม่แก่ผู้เรียนซึ่งค้นหายากหรือเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้สอนเอง
3. เพื่อช่วยนำทางในการศึกษาค้นคว้าของผู้เรียน และช่วยสรุปประเด็นสำคัญที่ผู้สอนได้มอบหมายให้ผู้เรียนศึกษามาล่วงหน้าแล้ว
4. เพื่อช่วยสรุปประเด็นสำคัญ
องค์ประกอบของการสอน
การจัดการเรียนรู้แบบบรรยายมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้
1. มีเนื้อหาสาระ หรือ ข้อความรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
2. มีการบรรยาย (พูด บอก เล่า อธิบาย)
3. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจาการบรรยาย
 ความมุ่งหมายของวิธีสอนแบบบรรยาย
1. เป็นการสอนที่เน้นเนื้อหาสาระที่นำเสนอโดยครูผู้สอน ผู้บรรยายจะเสนอปัญหาวิธีการ
ต่างๆในการแก้ปัญหา และสรุปด้วยว่าวิธีการใดเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดตามหลักการ
2. เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้หลายๆแนวคิดก่อนที่จะสรุปเป็นข้อคิดหรือทางเลือกที่เหมาะสม
ขั้นตอนการสอน
1. ขั้นเตรียมการ
    -  กำหนดจุดประสงค์
    -  ศึกษาภูมิหลังผู้เรียน
    -  เตรียมเนื้อหาสาระ
    -  กำหนดเค้าโครง  จัดลำดับเนื้อหา
    -  เตรียมเทคนิคการสอน
    -  เตรียมสื่อประกอบการบรรยาย
    -  เตรียมการประเมินผล
2.  ขั้นสอน ประกอบด้วย
     2.1 ขั้นนำ อาจใช้วิธี
      1) ซักถามพูดคุยกับผู้เรียน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเรียน
      2)  ทบทวนการบรรยายในครั้งก่อนเพื่อเชื่อมโยงกับเรื่องใหม่
     2.2 ขั้นอธิบาย เป็นขั้นสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน ผู้สอนควรได้ดำเนินการ ดังนี้
       1) บอกโครงเรื่อง เครือข่ายของเนื้อหา และแจ้งจุดประสงค์ของบทเรียน
       2) อธิบายให้ชัดเจนตามลำดับเนื้อหาอย่างต่อเนื่องกัน
       3) สังเกตปฏิกิริยาตลอดเวลาเพื่อการย้ำหรือหยุดทบทวนใหม่
       4) ถามคำถามในบางตอนเพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
       5) ยกตัวอย่างประกอบ เพื่อเพิ่มความแจ่มแจ้งในบทเรียน
       6) ใช้น้ำเสียง บุคลิกภาพ ท่าทีการพูดอธิบาย การใช้ภาษา อารมณ์ขันที่เหมาะสม
     2.3 ขั้นสรุป เป็นการปิดท้ายชั่วโมงการบรรยาย อาจใช้วิธี
        1) สรุปโยงเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบ
        2) ตั้งปัญหาให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ วิจารณ์
        3) ฝากปัญหาให้ผู้เรียนไปคิดต่อ
        4) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนไดซักถามปัญหา
        5) มอบหมายงายให้ผู้เรียนไปค้นคว้าต่อเพิ่มเติม
        6) บอกล่วงหน้าถึงเนื้อหาที่จะเรียนในครั้งต่อไป
3. ขั้นติดตามผล ประกอบด้วย
    3.1 วัดและประเมินผลผู้เรียน โดยอาจใช้วิธี
        1) ตรวจสมุดบันทึกที่ผู้เรียนจดบรรยาย
        2) ถามคำถามในเนื้อหาที่บรรยาย
        3) ให้ทำข้อสอบหรือแบบฝึกหัดเพิ่มเติม
     3.2 วัดผลประเมินผลผู้สอน โดยอาจใช้วิธี
        1) จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เรียนได้ทราบความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีการสอน การอธิบาย การใช้น้ำเสียง บุคลิกท่าทาง
        2) ให้เพื่อนครูได้เข้าสังเกตการณ์สอน แล้วให้ข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสอน
        3) บันทึกการบันยายของตนแล้วนำไปพิจารณา ประเมิน
ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
1. ประหยัดเวลา เพราะสามารถใช้กับผู้เรียนได้จำนวนมาก
2. ผู้สอนสามารถนำความรู้ที่เป็นจุดเด่นจากตำราหลายๆ เล่มมาประมวล บูรณาการไว้ด้วยกันในการบรรยาย
3. สำหรับเนื้อหายุ่งยากและซับซ้อน ผู้เรียนได้ฟังบรรยายแล้วจะเข้าใจง่ายกว่าไปศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งต้องใช้เวลานานมากกว่า และอาจไม่เข้าใจ
4. ผู้เรียนได้ฟังความคิดเห็นหรือข้อชี้แนะจากผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์มากกว่าทำให้เกิดแรงจูงใจที่จะเรียนดีขึ้น
5. ดำเนินการสอนได้รวดเร็ว
6. ผู้เรียนไม่ต้องทำงานมาก รับรู้เรื่องราวได้โดยตรง
7. เหมาะสมกับเนื้อหาที่มีความยุ่งยาก ซับซ้อน
8. ฟังการบรรยายก็เข้าใจง่ายกว่าค้นหาเอง

ข้อเสียของการสอนแบบบรรยาย
 1. ถ้าใช้บ่อยๆ โดยไม่พิจารณาความเหมาะสม อาจทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย เพราะผู้เรียนมีส่วนร่วมใน    กิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
2. ไม่เอื้อต่อการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ซึ่งเป็นความสามารถทางปัญญาชั้นสูง
3. ไม่ค่อยเกิดการพัฒนาด้านเจตคติและทักษะพิสัย
4. เป็นการสอนที่เน้นครูหรือผู้สอนเป็นศูนย์กลาง
5. ความรู้ที่ได้รับจากการฟังเพียงอย่างเดียวอาจลืมง่าย เป็นความทรงจำที่ไม่ถาวร
6. ผู้สอนต้องรู้จักการสร้างบรรยากาศด้วยวาทศิลป์ เพื่อมิให้ผู้ฟังสูญเสียความสนใจ
7. ครูควรแสดงท่าทางประกอบการเคลื่อนไหวบ้างพอสมควรอย่าให้มากเกินไป
8. ครูควรบรรยายจากข้อมูลไปหาข้อสรุปหรือกฎเกณฑ์จะช่วยให้เด็กได้พัฒนาทางด้านความคิดเป็นอย่างมาก
9. ควรมีการซักถามเด็กบ้างระหว่างที่บรรยายเช่น ให้ช่วยออกความคิดเห็นต่างๆ เป็นต้น
10. เสียงดังชัดเจนมีการเน้นสูงต่ำเป็นจังหวะ
11. ใช้ภาษาและคำพูดง่ายๆ ให้เด็กฟังแล้วเข้าใจ
12. ครูควรใช้รูปภาพหรือวัสดุอื่นประกอบคำอธิบาย
13. เป็นวิธีการสอนผู้เรียนมีบทบาทน้อยจึงทำให้ผู้เรียนขาดความสนใจในการบรรยาย
14. เป็นวิธีการสอนที่ไม่สามารถสนองตอบความต้องการและความแตกต่างระหว่างบุคคล


ที่มา
           https://yupawanthowmuang.wordpress.com/about/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%
98%E0%.  การสอนแบบบรรยาย.  เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2558. 
https://beebeecom.wordpress.com/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%.  การจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย. เข้าถึงเมื่อ 8 กรกฎาคม 2558.
สุวิทย์  มูลคำ และอรทัย  มูลคำ. (2551). 19วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.  (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น